การให้คำปรึกษา แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Counseling ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึง การให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือการให้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือ แต่ “การปรึกษาเชิงจิตวิทยา” มีความหมายที่แตกต่างออกไป โดยจากสมาคมการปรึกษาเชิงจิตวิทยานานาชาติ (International Association for Counseling: IRTAC) ให้นิยามจิตวิทยาการปรึกษาไว้ว่า คือ วิธีการแห่งการสร้างความสัมพันธ์และการตอบสนองต่อผู้อื่นโดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นโอกาสให้บุคคลได้สำรวจตนเอง ทำให้ชีวิตชัดเจนขึ้น และใช้ชีวิตในทางที่น่าพึงพอใจและสร้างสรรค์

Blogger templates

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

ใครคือขี้วัว

ซูตงพอเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เซนท่านหนึ่ง ซูตงพอเป็นทั้งอำมาตย์
และเป็นนักกวีชื่อดังแห่งยุค (พ.ศ. 1580 -1644) บ้านของเขาอยู่คนละฟากฝั่งแม่น้ำกับวัด แต่ก็ไปมาหาสู่พระอาจารย์เป็นประจำ เพื่อมาต่อกลอนและมาภาวนาร่วมกัน

วันหนึ่งขณะที่นั่งสมาธิด้วยกัน พระอาจารย์นั่งนิ่งอยู่ในสมาธิ แต่ซูตงพอนั่งได้ประเดี๋ยวเดียว ก็นั่งไม่ได้แล้ว เที่ยวมองไปก็มองมาเขานึกเอาเองว่าตัวเองนั่งสมาธิได้ไม่เลว จึงพูดกับพระอาจารย์ว่า


“ท่านเห็นลักษณะการนั่งของข้าพเจ้าเป็นอย่างไร?”
“เหมือนพระพุทธรูปองค์หนึ่ง”

“แล้วท่านนักประพันธ์ใหญ่เห็นอาตมาเหมือนอะไร”
“เหมือนขี้วัวหนึ่งกอง”ซูตงพอตอบ

พระอาจารย์ยิ้มๆ ไม่ว่าอะไรแล้วนั่งสมาธิต่อ ซูตงพออิ่มอกอิ่มใจที่สามารถพูดอำ
พระอาจารย์ได้ จึงกลับไปเล่าให้ คนที่บ้านฟัง คิดว่าคนที่บ้าน
ต้องชมว่า ตนโต้ตอบได้ยอดเยี่ยมแน่ แต่น้องสาวของเขารู้สึกขำแล้วพูดว่า

“พี่โง่จ๋า ยังจะนึกสะใจอยู่อีกพี่แพ้พระอาจารย์แล้ว”
“เป็นไปได้ยังไง? พี่แพ้ยังไง?”

“พระอาจารย์ในสายตาของพี่ มองเหมือนกับขี้วัว แต่ที่แท้คือพุทธะ
แต่พี่ดูเหมือนพุทธะ แต่ในจิตใจ บรรจุขี้วัวไว้เต็มไปหมด”

ซูตงพอยังเหมือนกับไม่เข้าใจอยู่อีก น้องสาวเขาเลยอธิบายให้ฟังว่า

“เพราะในจิตของพระอาจารย์มีแต่พุทธะ ดังนั้นในมุมมองของท่าน
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จึงเป็นพุทธะ แต่พี่ยังภาวนาไปไม่ถึงไหน
ในจิตย่อมมีแต่สิ่งสกปรก จึงเห็นพระอาจารย์เป็นขี้วัว”

ซูตงพอฟังแล้วถึงได้เข้าใจ และรู้ว่าตัวเองเรื่องที่จะไปให้ถึงนั้นยังอยู่อีกไกล