การให้คำปรึกษา แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Counseling ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึง การให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือการให้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือ แต่ “การปรึกษาเชิงจิตวิทยา” มีความหมายที่แตกต่างออกไป โดยจากสมาคมการปรึกษาเชิงจิตวิทยานานาชาติ (International Association for Counseling: IRTAC) ให้นิยามจิตวิทยาการปรึกษาไว้ว่า คือ วิธีการแห่งการสร้างความสัมพันธ์และการตอบสนองต่อผู้อื่นโดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นโอกาสให้บุคคลได้สำรวจตนเอง ทำให้ชีวิตชัดเจนขึ้น และใช้ชีวิตในทางที่น่าพึงพอใจและสร้างสรรค์

Blogger templates

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความฉลาดทางปัญญา IQ (Intelligent Quotient)

ความฉลาดทางปัญญา 8 อย่าง IQ (Intelligent Quotient)

1. ความฉลาดทางภาษา คนพวกนี้จะมีความสามารถในการใช้ภาษาได้ดี ทั้งการพูด การเขียน การอ่าน รวมทั้งความสามารถในการจัดเกี่ยวกับโครงสร้างทางภาษามีความสามารถในการใช้ศิลปะในการใช้ภาษาหรือการสื่อสาร

2. ความสามารถทางตรรกะและคณิตศาสตร์ พวกนี้จะมีความสามารถในการใช้ตัวเลข คิดเลขได้ดี มีความคิดเชิงนามธรรมได้เก่ง มีเหตุมีผล คิดการณ์ไกลได้เก่ง ตั้งสมมติฐานเก่ง

3. ความฉลาดทางด้านมิติ พวกนี้จะมีความสามารถในการมองมิติกว้าง ยาว สูงไกล ได้ก่ง รวมทั้งสามารถคิดปรับปรุงวิธีการใช้พื้นที่ได้ก่ง

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จิตวิทยา (Psychology)

คำว่า Psychology (จิตวิทยา)มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ ได้แก่ Psyche (Mind = จิตใจ) และ Logos (Knowledge = ศาสตร์ องค์ความรู้)

ความหมายโดยรวมของ Psychology จึงหมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของอินทรีย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นสำคัญ เพื่ออธิบาย
ทำความเข้าใจทำนาย และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆได้

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา

จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อาจารย์ท่านไม่ว่าง

มีอยู่วันหนึ่ง ฌานาจารย์ฝอกวงได้พบเมี่ยวชุ่น จึงถามว่า
" เจ้าปฏิบัติฌานที่นี่นาน ๑๒ ปีแล้ว เหตุใดไม่มาสนทนาธรรมกับอาตมาเลย ? "

เมี่ยวชุ่นตอว่า " อาจารย์ท่านไม่ว่าง ศิษย์ไม่กล้ารบกวน "

พริบตาก็ผ่านไปอีก ๓ ปี มีอยู่วันหนึ่ง ฌานาจารย์ฝอกวงพบเมี่ยวซุ่นอีกครั้ง
จึงถามว่า " เจ้ามาอยู่ที่นี่นานมากแล้ว มีปัญหาอะไรหรือ
ทำไมไม่มาสนทนาธรรมกับอาตมา "

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผู้กลืนกินจักรวาล

วันหนึ่ง ท่านอาจารย์อันมอน กล่าวขึ้นท่ามกลางศิษย์ว่า
" ไม้เท้าของฉันอันนี้ สามารถแปลงร่างเป็นมังกรใหญ่และกลืนกินจักรวาล
ไว้ทั้งหมดได้ โอ ! โอ้.. แล้วแม่น้ำ ภูเขา แผ่นดินอยู่ตรงใหนล่ะ "

ปริศนาธรรมจากเรื่องนี้มุ่งจะแสดงให้เห็นความสำคัญของการ รวมความสนใจทั้งหมด
ไว้ที่จุดเดียว ซึ่งเป็นอำนาจสมาธิจิตอย่างหนึ่ง

เรื่องนี้ท่านอาจารย์อันมอน แสดงให้เห็นท่ามกลางศิษย์ ด้วยการยกไม้เท้าขึ้นสูงเหนือ
ระดับสายตา ด้วยการยกไม้เท้าขึ้นสูงเหนือระดับสายตาศิษย์ทั้งหมด พลางพูดเหมือน
กับว่าท่านกำลังจับพญามังกรที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ คาร์ล ยุง (Carl Jung)

Carl Jung (1875 – 1961)
จิตแพทย์ชาวสวิสและผู้ก่อตั้งจิตวิทยาการวิเคราะห์ (analytic psychology)
คาร์ล ยุง เกิดที่สวิสเซอร์แลนด์ เป็นบุตรของบาทหลวงของกลุ่มปฏิรูปสวิสเซอร์แลนด์ (Swiss Reform) เขาเข้าศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบาเซิล ได้รับปริญญาในปี 1900 และตัดสินใจเป็นจิตแพทย์ ยุงทำงานที่คลินิกจิตเวชของมหาวิทยาลัยซูริค โดยเป็นผู้ช่วยของเออเกน บลอยเลอร์* (Eugen Bleuler) (1857 – 1939) จิตแพทย์ผู้มีกิตติศัพท์ในงานด้านโรคจิตเภท (schizophrenia) นอกจากนี้ ยุงยังเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อศึกษากับปิแอร์ เจเนต์ (Pierre Jenet) (1859 – 1947) จิตแพทย์ผู้มีชื่อเสียงอีกด้วย ในปี 1905 เขาได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยซูริค และกลายเป็นแพทย์อาวุโสที่คลินิกของที่นั่น แต่ในที่สุดนิสัยรักความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นก็ผลักดันให้เขาลาออกจาก มหาวิทยาลัย การศึกษาเกี่ยวกับโรคจิตเภทชิ้นแรกๆ ของยุงที่ได้รับการตีพิมพ์ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา นอกจากนี้ เขายังเป็นที่รู้จักในฐานะที่คิดค้นแบบทดสอบการเชื่อมโยงคำศัพท์ (word association test) ขึ้นอีกด้วย

รูป

มีพระรูปหนึ่งเป็นบัณฑิตคงแก่เรียน และเป็นที่เคารพของคนทั่วไป ท่านได้เคยแสดงธรรมหน้าพระที่นั่ง ทั้งยังได้รับพระราชทานจีวรแดง อันเป็นสมณศักดิ์สูง พระรูปนี้ได้ไปหาอาจารย์โบคุจุ

โบคุจุ เริ่มโมนโด( คำถาม - คำตอบ ) ขึ้นโดยไม่ชักช้า
ท่านชี้ไปที่พระบัณฑิต ถามขึ้นว่า
" นี่คืออะไร "

เฉกเช่นบัณฑิตในพุทธศาสนา พระก็ตอบว่า " รูป "