การให้คำปรึกษา แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Counseling ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึง การให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือการให้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือ แต่ “การปรึกษาเชิงจิตวิทยา” มีความหมายที่แตกต่างออกไป โดยจากสมาคมการปรึกษาเชิงจิตวิทยานานาชาติ (International Association for Counseling: IRTAC) ให้นิยามจิตวิทยาการปรึกษาไว้ว่า คือ วิธีการแห่งการสร้างความสัมพันธ์และการตอบสนองต่อผู้อื่นโดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นโอกาสให้บุคคลได้สำรวจตนเอง ทำให้ชีวิตชัดเจนขึ้น และใช้ชีวิตในทางที่น่าพึงพอใจและสร้างสรรค์

Blogger templates

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

ถูกคือผิด

ครั้งหนึ่ง มากู่ถือไม้เท้าไปหาอาจารย์จางจิ้ง
เขาเอาไม้เท้าวนรอบตัวอาจารย์จางจิ้ง 3 รอบ
แล้วไปยืนอยู่ตรงหน้าอาจารย์

อาจารย์จางจิ้งร้องบอกว่า " ดี ดี "

มากู่จึงเดินไปหาอาจารย์หนานฉวน
แล้วแสดงอิริยาบถอย่างเดียวกัน

อาจารย์หนานฉวนกลับบอกว่า " ไม่ดี "

มากู่จึงถามว่า " เมื่อสักครู่นี้ อาจารย์จางจิ้งยังบอกว่าดี

แต่ทำไมตอนนี้ อาจารย์กลับว่าไม่ดีล่ะครับ "

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

พื้นฐานทางสรีรวิทยา

โครงสร้างการทำงานและระบบต่างๆ ของร่างกาย


โครงสร้างการทำงานของร่างกาย
ร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกนั้นจะมีโครงสร้างทางร่างกาย ที่ประกอบจากหน่วยที่เล็กที่สุดจนไปถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุด ในแต่ละหน่วยนั้นจะมีการทำงานที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่สามารถแยกการทำงานออกจากกันตามลำพังได้
ตัวอย่างเช่น โครงสร้างร่างกายของมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ที่เรียกว่า เซลล์ (Cell) หลาย ๆ เซลล์ที่ทำหน้าที่เดียวกันเมื่อมาอยู่รวมกันเรียกว่า เนื้อเยื่อ (Tissues) หลาย ๆ เนื้อเยื่อมาทำงานรวมกันเรียกว่า อวัยวะ (Organ) หลาย ๆ อวัยวะเมื่อมาทำงานร่วมกันเรียกว่า ระบบ (System) ดังแสดงในแผนผัง

ระบบต่างๆ ในร่างกาย
การดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้นต้องอาศัยการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่างๆ ที่เป็นปกติ สำหรับระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์นั้น สามารถจำแนกได้ 10 ระบบ ได้แก่

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทางแห่งความสุข

มีอุบาสก 3 ท่านถามพระอาจารย์ว่า “นับถือศาสนาพุทธ
สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้จริงหรือ? แล้วทำไมพวกเรา นับถือพุทธมานาน ถึงยังไม่มีความสุข”

“พวกเจ้ามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร?” พระอาจารย์ถาม

คนที่หนึ่งตอบว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่เพื่อจะไม่ตาย ความตายน่ากลัวเหลือเกิน ข้าพเจ้ายังไม่อยากตายดังนั้นจึงยังอยากมีชีวิตอยู่”

คนที่สองตอบว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่เพื่อ...ตอนนี้ที่ยังหนุ่มต้องขยันขันแข็ง เพื่อจะได้มั่งมีศรีสุขในตอนแก่”

คนที่สามตอบว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่เพื่อเลี้ยงดูคนทั้งครอบครัว ไม่มีข้าพเจ้า พวกเขาคงจะอยู่ไม่ได้ ข้าพเจ้าเป็นเสาหลักของครอบครัว ขาดข้าพเจ้าไป ครอบครัวนี้ต้องล่มสลายเป็นแน่”

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

เคล็ดลับการรู้แจ้ง

ในสมัยพุทธกาลนักปรัชญาผู้หนึ่งมีโอกาสได้สนทนากับพระพุทธองค์และตั้งคำถามต่อพระพุทธองค์ว่า

นักปรัชญา : ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า พระองค์มีหลักคำสอนเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้ง อะไรเล่าคือวิธีการที่พระองค์สอนเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งนั้น อะไรคือข้อฝึกปฏิบัติที่ต้องกระทำในทุกๆ วัน

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

อิ๊กคิวถอดจีวร

ครั้งหนึ่ง เศรษฐีท่านหนึ่งได้นิมนต์ท่านอิ๊กคิวไปทำพิธีที่บ้าน
เศรษฐีคนนี้ร่ำรวยมาก จึงชอบดูแคลนผู้อื่น ท่านอิ๊กคิวไอ้ปลอมตัว
ให้ดูเหมือนขอทาน ไปยังบ้านเศรษฐี บอกกับคนเฝ้าประตูว่า

" อาตมามาขอพบนายท่าน " ว่าแล้วก็จะเดินเข้าไป
แต่คนเฝ้าประตูกลับตะคอกไล่ท่าน เพราะคิดว่าท่านเป็นขอทาน
" ไป ไปที่อื่น "
เศรษฐีก็ออกมาไล่ " ไล่มันไปให้พ้น ๆ ไป "

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

เงินแลกกับปัญญา

    ครั้งหนึ่ง ขณะที่ชายคนหนึ่งกำลังซ่อมกำแพงที่ถล่มลงมา หลังจากฝนตกลงมาอย่างหนัก เขาได้ขุดพบทองคำก้อนใหญ่ ก้อนหนึ่ง เลยกลายเป็นเศรษฐีในชั่วพริบตา
    ชายคนนั้นรู้ตัวเองดีว่า ตัวเองค่อนข้างโง่ จึงไปปรึกษากับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง พระอาจารย์แนะนำว่า

“เจ้ามีเงิน ผู้อื่นมีปัญญา เจ้าทำไมไม่ใช้เงินไปซื้อปัญญาของคนอื่น”

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ดัชนีใจ

ก่อนที่โดเง็นจะ " ซาโตริ " มีอยู่วันหนึ่ง ท่านอาจารย์เนียวโจ
ได้แสดงธรรมให้แก่ตัวเขาว่า

" พระสมณโคดมพุทธเจ้า ได้ถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่
พระมหากัสปะพุทธเจ้า และพระกัสปะพุทธเจ้าได้ถ่ายทอด พุทธธรรม ให้แก่พระพุทธเจ้าองค์อื่นก่อนหน้านี้ คือพระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกกุสันธพุทธเจ้าพระเวสสภูพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า และพระวิปัสสีพุทธเจ้าสืบทอดกันมาเช่นนี้ จนถึงปัจจุบัน "

โดเง็นได้ฟังเช่นนั้น ก็กล่าวแย้งอาจารย์ของเขาทันทีว่า

" แต่อาจารย์ครับ พระสมณโคดมเกิดภายหลัง พระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพพานไปตั้งนานแล้วมิใช่หรือครับและที่อาจารย์กล่าวว่าพระกัสสปพุทธเจ้าทรงถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆก็เป็นสิ่งที่ผิดตรรกะ ไม่สอดคล้องกับเหตุผลมิใช่หรือครับ "